ยินดีต้อนรับสู่ www.ndath.com สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นิติกานต์ ธรรมหรรษากุล นายกสมาคม - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช นุกูลกิจ นายกอาวุโส - รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์ อุปนายกสมาคม  - ทนายธนดล  เพชรบุรีกุล  อุปนายกสมาคม - ดร.กำธร เพียเอีย เลขาธิการ -  คุณนาวิน  จูบิดา รองเลขาธิการ-พ.ต.ต.หญิง สุวิมล ธรรมหรรษากุล เหรัญญิก- อาจารย์ชูพงษ์ อัจจาธร ประชาสัมพันธ์-คุณอารีรักษ์ แซ่อึ้ง นายทะเบียน-คุณเพ็ญนภา ศิริจันทร์ ปฏิคม - ครูมานิตย์ รัตนะแก่นจันทร์-คุณนราธิป ปรีชากรณ์วงศ์-คุณขวัญใจ ตรีทรัพย์ กรรมการสมาคม รวม 13 คน ...ขอบคุณทุกท่าน ที่มาเยี่ยมชม..!
แผนภูมิการบริหารองค์ : สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)
เครือข่าย
พันธมิตร
สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) : สนธ.
Niti Dhammahansa Association (Thailand) : NDA

        สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) ย่อว่า "สนธ." ภาษาอังกฤษว่า Niti Dhammahansa Association (Thailand) ย่อว่า "NDA" จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์และอุดมการณ์ของคณะบุคคลผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตอาสาและเจตนาอันเป็นบุญกุศลสาธารณะ ประกอบด้วย นักวิชาการทางด้านศาสนาและปรัชญา ทนายความ พร้อมด้วยนักวิชาการและนักศึกษาคณะนิติศาสตร์  ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้วิชาการด้านกฎหมาย ได้รวมตัวกันจัดตั้ง "สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)" ได้ประชุมคณะกรรมการผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ณ หมู่บ้านเอื้อประชารังสิต หมู่ที่ 7 ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมืองปทุมธานี จึงหวัดปทุมธานี อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคม        
       ทั้งนี้ ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม มีฐานะเป็น "นิติบุคคล"  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ทะเบียนเลขที่ 16/2564 โดยมีคณะกรรมการผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคม 13 คน และเป็นคณะกรรมการสมาคม ชุดแรก มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็น "สมาคม" เรียบร้อยแล้ว ตามประกาศนายทะเบียนสมาคมจังหวัดปทุมธานี เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งสมาคม ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564
      
วัตถุประสงค์ของสมาคม

    (1)    ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและให้ความรู้ด้านกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน กฎหมายอาญา 
            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอื่นๆ และช่วยเหลือประชาชนเหยื่ออาชญากรรมและอยุติธรรม
    (2)    ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและให้ความรู้ด้านศาสนา การปฏิบัติธรรม อุปถัมภ์บำรุงวัดหรือพุทธสถาน
            จัดกิจกรรมส่งเสริมเชิดชูเกียรติคุณ เผยแพร่ ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ ธรรมาภิบาล
    (3)    ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและให้ความรู้ด้านสังคม เช่น สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
             มนุษยศาสตร์ การบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาวิชาการและองค์ความรู้ด้านสังคม
    (4)    ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ
    (5)    ส่งเสริมการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์และสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ยูทูป ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
    (6)    ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรการกุศล หรือเอกชน จัดโครงการ    
            ฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน การให้ความรู้วิชาการด้านต่างๆ และการพัฒนาวิชาชีพต่างๆ
    (7)    ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศล สาธารณประโยชน์ และสังคมสงเคราะห์
    (8)    ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
    (9)    มิได้กระทำการเรี่ยไรเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ
            พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 แต่อย่างใด
    (10)  รายได้จากการดำเนินกิจการหรือสมาชิกของสมาคมจะไม่ใช้เป็นค่าตอบแทน ค่าจ้าง เงินเดือนให้กับ          
            กรรมการหรือสมาชิกของสมาคม เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมโครงการตามวัตถุประสงค์

        ตามบันทึกรายงานการประชุมจัดตั้งสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)  เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00-17.30 น. ระเบียบวาระที่ 3  :  เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ได้ระบุถึงหลักการและเหตุผลของการจัดตั้งสมาคม สนธ. ไว้น่าสนใจเก็บไว้เป็นอนุสรณ์แห่งประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งสมาคม สนธ. ดังต่อไปนี้... 
  
        "ประธาน   แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงหลักการและเหตุผลของการจัดตั้งสมาคมว่า "ก่อนจัดตั้งสมาคม สนธ.มีพัฒนาการมาจากคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมการศึกษาวิจัยพัฒนาศาสนาและกฎหมาย (สศก.) มูลนิธิศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ อินเดีย-ไทย (India-Thai International Meditation Centre Trust : ITT) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นิติกานต์  ธรรมหรรษากุล เป็นประธานอำนวยการ และกรรมการสัญชาติอินเดีย 3 คน และสัญชาติไทย 5 รูป/คน จดทะเบียนเป็น "นิติบุคคล (Juristic Person)" ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรการกุศลท้องถิ่น พุทธคยา เมืองคยา ประเทศอินเดีย โดย สศก. ขึ้นตรงกับมูลธินิ ITT ในฐานะเป็นหน่วยงานในสังกัดภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการมูลนิธิ ITT ร่วมกับ มูลนิธิวัดไทยโพธิวิหาร (Wat Thai Bodhi Vihara Trust : WTB)  และนิติบุคคลจดทะเบียนประเทศไทย บริษัท ธรรมหรรษาทัวร์ แอนด์ แทรเวล จำกัด, บริษัท บางกอกไทย เซ็นเตอร์ จำกัด ในอุปถัมภ์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.นิติกานต์ ธรรมหรรษากุล  ประธานกรรมการบริหารบริษัทในเครือธรรมหรรษา  ต่อมาคณะกรรมการ สศก. ได้พิจารณาว่าควรยกฐานะ จัดตั้งเป็น "สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)" จดทะเบียนเป็น "นิติบุคคล" ในประเทศไทย"
        ประธานแจ้งว่า การจัดตั้งสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) อีกเหตุผลเกิดจากการรวมตัวกันของนักวิชาการอิสระทางด้านศาสนาปรัชญา พร้อมด้วยนักวิชาการและนักศึกษาวิชากฎหมาย ทนายความ เมื่อจดทะเบียนสมาคมจากทางราชการแล้ว จะมีภารกิจ (Mission) ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ (Objective) ของสมาคม โดยจัดแบ่งส่วนงานภายในด้านบริหารกิจการตามภารกิจหลักของสมาคม ออกเป็น 4 ศูนย์ ดังนี้
    1.    ศูนย์การศึกษาวิจัยกฎหมาย   มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ดำเนินงานบริหารจัดการตามภารกิจ
    2.    ศูนย์การศึกษาวิจัยศาสนา     มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ดำเนินงานบริหารจัดการตามภารกิจ
    3.    ศูนย์การศึกษาวิจัยสังคม       มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ดำเนินงานบริหารจัดการตามภารกิจ
    4.    ศูนย์การศึกษาวิจัยท่องเที่ยว  มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ดำเนินงานบริหารจัดการตามภารกิจ
และจัดแบ่งส่วนงานภายในด้านบริหารกิจการประจำสำนักงานของสมาคม ออกเป็น 5 กองงาน ดังนี้
    1.    กองงานเลขาธิการ        มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าบริหารกิจการประจำและกำกับดูแลรับผิดชอบ
    2.    กองงานเหรัญญิก         มีเหรัญญิกเป็นหัวหน้าบริหารกิจการประจำและกำกับดูแลรับผิดชอบ
    3.    กองงานทะเบียน          มีนายทะเบียนเป็นหัวหน้าบริหารกิจการประจำและกำกับดูแลรับผิดชอบ
    4.    กองงานปฏิคม             มีปฏิคมเป็นหัวหน้าบริหารกิจการประจำและกำกับดูแลรับผิดชอบ
    5.    กองงานประชาสัมพันธ์  มีประชาสัมพันธ์เป็นหัวหน้าบริหารกิจการประจำและกำกับดูแลรับผิดชอบ

        ทั้งนี้ คณะกรรมการสมาคมจะแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ต่างๆ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการ, กรรมการ, เลขานุการ และตำแหน่งอื่นๆ ที่เห็นสมควรกับภารกิจของศูนย์ต่างๆ ฯลฯ
       
        ในการดำเนินงานบริหารกิจการของสมาคมต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1, ลักษณะ 2, หมวด 2 นิติบุคคล, ส่วนที่ 2 สมาคม, ตั้งแต่มาตรา 78 - มาตรา 109, มาตรา ๗๘ บัญญัติไว้ว่า "การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้" และมาตรา ๗๙ บัญญัติไว้ว่า "ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (6) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ" ดังนั้น การดำเนินงานบริหารกิจการของสมาคมต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับของสมาคมฯ..."
(บันทึกรายงานการประชุมจัดตั้งสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) : 22 ต.ค. 2564)







free counters

ระเบียบสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)
ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์การศึกษาวิจัยกฎหมาย ศาสนา สังคม และท่องเที่ยว
พ.ศ. 2564


ประกาศสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)
เรื่อง การแบ่งส่วนงานของสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)
พ.ศ. 2564

ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้ง
สมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย) : สนธ.
Niti Dhammahansa Association (Thailand) : NDA
มีฐานะเป็น "นิติบุคคล" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

จัดทำโดย  คณะทำงานจัดทำควบคุมดูแลเว็บไซต์เพจเฟซบุ๊กยูทูปไลน์แอปพลิเคชั่น
ตามคำสั่งสมาคมนิติธรรมหรรษา (ประเทศไทย)  ที่ 1/2564  ลงวันที่  14  ธันวาคม  2564
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 139 ตอนที่ 22 ง 17 มีนาคม 2565 หน้าที่ 292-294